การตอบสนอง ของ การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

เอกราชของสกอตแลนด์

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 รัฐบาลสกอตแลนด์ ได้ออกแถลงการณ์ว่าได้มีการเตรียมการที่มี "แนวโน้มสูง" ที่จะมีการทำการลงประชามติครั้งที่สอง ในเอกราชจากสหราชอาณาจักร[8] มุขมนตรีสกอตแลนด์ นิโคลา สเตอร์เจียน กล่าวว่า "เห็นได้อย่างชัดเจน ว่าประชาชนชาวสกอตแลนด์มองอนาคตของพวกเขา เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป" และสกอตแลนด์มี "คำพูดเด็ดขาด" ด้วย "ความแข็งแกร่งที่ชัดเจน" ในการลงคะแนนให้คงอยู่ในสหภาพยุโรป[9] ขณะที่อเล็กซ์ ซัลมอนด์ อดีตมุขมนตรีกล่าวว่าการลงคะแนนครั้งนี้ "มีนัยสำคัญและการเปลี่ยนแปลงความคิด" ในจุดยืนของสก็อตแลนด์ภายในสหราชอาณาจักร[10]

โทนี แบลร์ กล่าวว่าเขาคิดว่าสกอตแลนด์จะถอนตัวจากสหราชอาณาจักร ถ้าสหราชอาณาจักรถอนตัวจากสหภาพยุโรป[11]

แมนเฟรด เวเบอร์ ผู้นำกลุ่มพรรคประชาชนยุโรป และพันธมิตรสำคัญของอังเกลา แมร์เคิล กล่าวว่าสกอตแลนด์ต้องการการต้อนรับที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป[12]

การสร้างเอกภาพไอร์แลนด์

การลงประชามติในเอกราชได้รับการสนับสนุนโดยพรรคซีนน์ไฟน์ของไอร์แลนด์เหนือ[13] มาร์ติน แมกกินเนสส์ รองมุขมนตรีไอร์แลนด์เหนือ เรียกร้องการลงประชามติบนเอกภาพของไอริช ตามที่สหราชอาณาจักรลงคะแนนเพื่อถอนตัวจากสหภาพยุโรป[14]

การพิพาทเหนือยิบรอลตาร์ของสเปน–สหราชอาณาจักร

โคเซ-การ์ซีอา มาร์กาโย อี มาร์ฟิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสเปนกล่าวว่า "มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สมบูรณ์ของภาพรวมที่เปิดขึ้นความเป็นไปได้ใหม่ในยิบรอลตาร์ ซึ่งไม่ได้เห็นมานานมากแล้ว ฉันหวังว่าวิธีการการร่วมอำนาจอธิปไตยจะชัดเจนยิ่งขึ้น ธงชาติสเปนบนเดอะร็อก (ยิบรอลตาร์) จะเป็นไปได้มากกว่าแต่ก่อน"[15]

อย่างไรก็ตาม เฟเบียน ปิการ์โด มุขมนตรีของยิบรอลตาร์เมินเฉยต่อความคิดเห็นของการ์ซีอา มาร์กาโยทันที โดยระบุว่า "จะไม่มีการพูดคุย รวมทั้งการพูดคุยเกี่ยวกับการพูดคุยใด ๆ ที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของยิบรอลตาร์" และขอให้พลเมืองยิบรอลตาร์ "ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นต่อเสียงรบกวนเหล่านั้น"[16]

สถานะของลอนดอน

ลอนดอนลงคะแนนให้คงอยู่ในสหภาพยุโรป และนิโคลา สเตอร์เจียน มุขมนตรีของสก็อตแลนด์ กล่าวว่าเธอได้พูดคุยกับซาดิค ข่าน นายกเทศมนตรีเมืองลอนดอน เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการคงอยู่ในสหภาพยุโรปและกล่าวว่าเขาได้แบ่งปันความยุติธรรมนั้นสำหรับลอนดอน คำร้องให้ข่านประกาศให้ลอนดอนเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร ได้รับลายเซ็นนับหมื่น[17][18][19][20][21][22]

ผู้สนับสนุนเอกราชของลอนดอนอ้างว่าจำนวนประชากรของลอนดอน วัฒนธรรม และค่าความแตกต่างจากส่วนที่เหลือของอังกฤษ และนั่นควรให้เป็นนครรัฐ คล้ายสิงคโปร์ ขณะที่ยังคงอยู่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป[23][24][25][26][27]

สเปนเซอร์ลิเวอร์มอร์ บารอนลิเวอร์มอร์ กล่าวว่าเอกราชของลอนดอน "ควรถึงจุดมุ่งหมาย" ด้วยเหตุผลที่นครรัฐลอนดอนจะมีจีดีพีเป็นสองเท่าของสิงคโปร์[28]

ผู้นำทางการเมือง

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน เดวิด แคเมอรอน ผู้นำพรรคอนุรักษนิยมและนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม แม้ว่าฝ่ายสนับสนุนพรรคอนุรักษนิยมทั้งสองข้างของการโต้วาทีการลงประชามติ กระตุ้นให้เขาอยู่ในตำแหน่งต่อไป อย่างไรก็ตามไนเจล เฟเรจ ผู้นำพรรคชาตินิยม เรียกร้องให้แคเมอรอนออกจากตำแหน่ง "ในทันที"[29]

เจเรมี คอร์บิน ผู้นำพรรคแรงงาน ต้องเผชิญกับคำวิจารณ์ที่เพิ่มขึ้นจากภายในพรรค ซึ่งมีการสนับสนุนให้คงอยู่ภายในสหภาพยุโรปสำหรับการรณรงค์พูร์แคมเปญ[30] และมีสองสมาชิกพรรคแรงงานลงคะแนนไม่ไว้วางใจคอร์บินในวันที่ 24 มิถุนายน[31]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 http://www.bbc.com/news/live/uk-politics-36570120 http://www.bbc.com/news/politics/eu_referendum/res... http://www.bbc.com/news/uk-politics-36615028 http://www.bbc.com/news/uk-politics-eu-referendum-... http://www.bbc.com/news/uk-scotland-scotland-polit... http://www.ft.com/cms/s/0/e4b299e2-3a1a-11e6-a780-... http://www.ft.com/cms/s/06a90f8c-39c0-11e6-a780-b4... http://www.ft.com/fastft/2016/06/24/scotland-n-ire... http://www.london24.com/news/politics/londoners_ca... http://www.nbcnews.com/storyline/brexit-referendum...